• 11
  • Apr
ระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ

ระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ



ระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ

 
เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ผู้ทำการวิจัย และทดลอง และลดความเสี่ยงจากการที่อาจจะมีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเล็ดลอดสู่สิ่งแวดล้อม 
จึงได้ให้มีการจัดทำระบบการป้องกันอันตรายทางชีวภาพที่มีการระบุถึงข้อปฏิบัติในขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอันตราย และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ 
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามระดับของความปลอดภัยทางชีวภาพ ( Biosafety Levels หรือ BSL ) ดังนี้
 
ความปลอดภัยระดับที่ 1 (Biosafety Levels 1 – BSL1)
ระบบความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการระดับที่ 1 หรือ BSL1 
สามารถใช้ได้กับการวิจัยและการทดลองสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 1 ซึ่งทำงานกับกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่ก่อให้เกิดโรคที่มีอันตรายในระดับต่ำที่สุดต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการที่ใช้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ ในระดับที่หนึ่งนี่ไม่จำเป็นต้องแยกออกจากห้องทั่วไปภายในอาคาร การทำงานจะทำบนโต๊ะปฏิบัติการทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษใดๆ 
ผู้ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการควรได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษจากนักวิทยาศาสตร์ทางด้านจุลชีววิทยาและวิทยาศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่ต้องมีห้องปฏิบัติการระดับ ที่ 1 หรือ BSL1 นี้ได้แก่  โต๊ะปฏิบัติการ, อ่างล้างมือ, อุปกรณ์วิจัยและเทคนิคทางจุลชีววิทยาทั่วไป
 
ความปลอดภัยระดับที่ 2 (Biosafety Level 2 – BSL2)
ระบบความปลอดภัยห้องปฏิบัติการระดับ 2  หรือ  BSL2 สามารถใช้ได้กับการวินิจฉัย และทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่หนึ่ง และประเภทที่สอง หรือบางลักษณะของงานประเภทที่สาม 
โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการทดลองวิจัยมีความเสี่ยง มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง โดยลักษณะสำคัญของการควบคุมงานระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ ระดับที่ 2 BSL2 จะคล้ายคลึงกับ ระดับที่ 1 BSL1
แต่มีข้อเเตกต่างคือผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการคนได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษเรื่องของเชื้อก่อโรค จากนักวิทยาศาสตร์ทางด้านจุลชีววิทยาและทำการศึกษาสิ่งมีชีวิตก่อโรคที่อาจก่อให้เกิดการฟุ้งกระจาย จะต้องทำในตู้ชีวนิรภัย หรือ Biosafety Cabinet หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสม
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมและวิธีการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการระดับ 2 หรือ BSL2 มีดังนี้
1. การฝึกอบรมทางเทคนิคเกี่ยวกับจุลินทรีย์ก่อโรคให้กับู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ตามระดับปลอดภัยทางชีวภาพ ระดับที่ 1 หรือ BSL1 เป็นอย่างต่ำ 
3. ตู้ชีวนิรภัยระดับ Class I หรือระดับ Class II (Bio Safety Cabinet Class I or Class II)
4. เครื่องนึ่งอบฆ่าเชื้อโรคด้วยไอน้ำความดันสูง (Autoclaves) 
5. ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 2 หรือ BSL2 ควรผ่านการฝึกอบรมการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการระดับ 2 หรือ BSL2 มาก่อน
 
ความปลอดภัยระดับที่ 3 (Biosafety Level 3 – BSL3)
ระบบความปลอดภัยห้องปฏิบัติการระดับสามสามารถใช้ได้กับการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่สามและการใช้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่คอโรคร้ายแรงและมีโอกาสแพร่กระจายผ่านทางระบบหายใจ ห้องปฏิบัติการระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสามเป็นระดับที่ประยุกต์เพื่องานวิจัยในเชิงการแพทย์ที่มีการทำงานกับเชื้อก่อโรค การวิจัยและทดลองระดับสูงหรือระดับการผลิตในโรงงานซึ่งมีการใช้สารเคมีซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษในเรื่องของอันตรายจากเชื้อก่อโรคจากนักวิทยาศาสตร์ ด้าน จุลชีววิทยาหรืออันตรายจากสารเคมีที่มีผลถึงชีวิตจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสารเคมีเหล่านั้นการทำงานที่ต้องใช้วัสดุติดเชื้อต้องทำในตู้สิวะนิรภัยหรือภาชนะที่ปลอดภัยหรือสวมเสื้อคลุม เพื่อป้องกัน
 
ความปลอดภัยระดับที่ 4 (Biosafety Level 4 – BSL4)
ระบบความปลอดภัยห้องปฏิบัติการระดับ 4 หรือ BSL4สามารถใช้ได้กับการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 4 รวมถึงการใช้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงสุดหรือยังไม่ทราบระดับอันตรายที่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ